เมนูอาหารคีโต 7 วัน แนะนำเมนูสุดฮิต กินแล้วหุ่นดีชัวร์

เมนูอาหารคีโต 7 วัน แนะนำเมนูสุดฮิต กินแล้วหุ่นดีชัวร์

ของว่างไม่อ้วน
ของว่างไม่อ้วน 5 เมนูแคลน้อยสำหรับคนควบคุมน้ำหนัก
August 9, 2022
ออกกำลังกายที่บ้าน
ออกกำลังกายที่บ้าน ง่ายๆ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์
September 16, 2022
เมนูอาหารคีโต 7 วัน

เมนูอาหารคีโต 7 วัน แนะนำเมนูสุดฮิต กินแล้วหุ่นดีชัวร์

ในปัจจุบัน เทรนด์รักสุขภาพมาแรงมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการออกกำลังกาย การเล่นกล้าม วิ่งมาราธอน ฟิตเนส โยคะ เป็นต้น แน่นอนว่ากิจกรรมเหล่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาในการออกกำลังกาย มีจิตใจรักสุขภาพ อยากให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมรับมือกับเรื่องใหม่ ๆ อยู่เสมอ แน่นอนว่าสำหรับการกินก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้ว คุณเองก็สามารถรักษาสุขภาพด้วยการกินได้เช่นกัน กับ เมนูอาหารคีโต นั่นเอง ซึ่งใครหลายคนอาจจะเคยได้ยินประเภทการกินอาหารแบบนี้ไปบ้างแล้ว ส่วนใครที่กำลังเข้าวงการฟังทางนี้ พวกเราจึงได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จะทำให้คุณรู้จักกับการกิน “คีโต” เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับ เมนูอาหารคีโต 7 วัน ที่จะทำให้คุณสุขภาพดี คุมน้ำหนัก พร้อมรักษาสุขภาพได้อย่างยั่งยืน 


คีโตคืออะไร

เมนูอาหารคีโต 7 วัน

อาจจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย แต่อีกหลายคนก็พอทราบมาบ้าง ดังนั้นแล้ว การกินอาหารคีโต จะหมายถึง อาหารคีโตจินิกไดเอ็ท หรือ พูดถึงแบบภาษาบ้าน ๆ คือ “ไดเอ็ท” นั่นแหละ ดังนั้นแล้วการกินอาหารประเภทนี้จะเป็น คาร์โบไฮเดรต น้องกว่า 50 กรัมต่อวัน อีกทั้งพวกไขมันที่ต้องมีสัดส่วนที่จะต้องส่งผลให้เกิดภาวะ Ketosis ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนัก บุคคลทั่วไป อีกทั้งยังใช้ภาวการณ์กินอาหารแบบนี้ในผู้ป่วยบางโรคได้ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ,ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ รวมไปถึง ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง หรือ คนที่อยากจะผอมนั่นเอง ส่วนอาหารของคีโต จะแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ 

SKD – Standard ketogenic diet 

จะเป็นการกินคีโต ที่มีไขมันสูงมาก โดยสัดส่วนของโปรตีนจะอยู่ปานกลาง ส่วนตัวคาร์โบไฮเดรดจะอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้สัดส่วนไขมัน 70% ต่อ โปรตีน 20% และ คาร์โบไฮเดรด 10% นั่นเอง

HKD – High protein ketogenic diet

จัดได้ว่าประเภทนี้ จะต้องกินไขมันสูง ส่วนโปรตีนนั้นจะจัดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนตัวคาร์โบไฮเดรด จะอยู่ต่ำที่สุด แต่ว่าจะไปเพิ่มสัดส่วนของโปรตีนที่มากกว่า โดยรวมแล้วเป็น ไขมัน 60%, โปรตีน 35% และ คาร์โบไฮเดรด 5%

CKD- Cyclical ketogenic diet 

ในประเภทนี้จะเป็นการกินคีโต ที่จะเน้นการกินคาร์โบไฮเดรตเป็นช่วง ตัวอย่างเช่น กินอาหารคีโต 5 วัน ตามด้วยการกินตามปกติ ที่มีคาร์โบไฮเดรต 2 วัน 

TKD – Targeted ketogenic diet

สำหรับการกินประเภทนี้ จะเป็นการกิจคารืโบไฮเดรตได้ หลังการออกกำลังกายเท่านั้น ส่วนเวลาอื่น ก็กินอาหารคีโตปกติ 

หลังจากที่ได้อ่านคุณสมบัติของการกินคีโตทั้ง 4 ประเภทไปแล้ว ก็จะสรุปได้ว่า Standard ketogenic diet กับ High protein ketogenic diet จะเป็นสูตรที่ได้รับความนิยม นำมาใช่การลดน้ำหนัก รวมทั้งการวิจัยค่อนข้างมาก ส่วน Cyclical ketogenic diet กับ Targeted ketogenic diet ส่วนใหญ่แล้วประเภทนี้จะใช้กับนักกีฬาเพาะกาย ด้วยเหตุผลว่ามันเป็นวิธีที่ยุ่งยาก กับ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั่นเอง 


Ketosis คือ อะไร? 

เมนูอาหารคีโต 7 วัน

หลักจากย่อหน้าแรก ที่มีการพูดถึง Ketosis “คีโตสิส” ซึ่งเจ้านี่จะหมายถึง ภาวะที่ร่างกายนั้น นำพลังงานจากไขมัน มาใช้แทนพลังงานจากกลูโคส นั่นเอง เมื่อเราทานคาร์โบไฮเดรตอย่างเช่น แป้ง ข้าว น้ำตาล เข้าไป อาหารเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล โมเลกุล เล็ก ที่เรียกว่า “กลูโคส” ต่อมาตัวของตับอ่อน จะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน ออกมาเพื่อทำหน้าที่นำกลูโคส เหล่านี้เข้าไปสู่เซลล์ รอการนำไปใช้เป็นพลังงานของร่างกายนั่นเอง 

เมื่อตัวเราเองได้ทานอาหารคีโตไปแล้วนั้น ร่างกายของเราก็จะได้รับคาร์โบไฮเดรต ลดลง เหลือประมาณวันละ 20-50 กรัมเท่านั้น จึงส่งผลให้กลูโคสลดน้อยลง ทำให้มีการเริ่มนำไขมันสะสมอยู่ออกมาใช้เป็นพลังงานแทน กระบวนการนี้จะสลายไขมันเพื่อเกิดสารที่ชื่อว่า “คีโตน” ในกระแสเลือดมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายนั้นหิวน้อยลง หรือ เข้าสู่ภาวะ Ketosis นั่นเอง 

จะสรุปความหมายของเรื่องนี้ได้ว่า การกินอาหารคีโต นั้น คือการกินอาหารที่จะทำให้น้ำตาลในร่างกายน้อยลง พร้อมทั้งกระตุ้นให้ไขมันสลายออกมา เป็นพลังงานทดแทน ช่วยให้หิวน้อยลง เหมาะกับคนที่กำลังหาทางลดน้ำหนักนั่นเอง 


วิธีสังเกตว่า ร่างกายเข้าสู่ภาวะ “Ketosis”

สำหรับผู้ที่เริ่มกินแบบ คีโต เบื้องต้น อาจจะต้องตกใจกันหน่อยเกี่ยวกับร่างกายที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะดึงไขมันออกมาใช้ โดยสามารถเช็กด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ กับ การสังเกตอาการถึงการบ่งบอกว่าเกิดภาวะ คีโตสิส ก็คือ การกระหายน้ำ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย รวมทั้ง อาการหิวลดลงด้วย สำหรับบางคนที่กินคีโต แล้วอยากให้เข้าสู่สภาวะนี้เร็วขึ้น ก็จะใช้วิธีการ ทำ IF หรือ Intermittent Fasting เป็นการจำกัดเวลาในการกินอาหารในแต่ละวัน อีกทั้งมีหลากหลายสูตร แต่ที่นิยมก็คือ ในหนึ่งวันนั้นจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ในช่วงแรกให้ทานได้ภายใน 8 ชั่วโมง ทานในปริมาณที่พอเหมาะ ให้งดอาหาร 16 ชั่วโมง


แบบไหน? ถึงเรียกว่าการกิน “คีโต” ที่ถูกต้อง

ความถูกต้อง เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะทำตามกิจกรรมต่าง ๆ การกิน “คีโต” ก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่ว่าจะมีสูตรจัดขึ้นมาแบบไม่มีที่มา ที่ไป หรือ ข้อมูลอ้างอิง ดังนั้นแล้ว พวกเราจึงได้รวบรวม “การกินคีโตที่ถูกต้อง” มาฝากท่านผู้อ่านกัน โดยการกินที่ถูกต้องจะมี 3 รูปแบบคือ กินไขมันเป็นหลัก,กินไขมันอิ่มตัวบางชนิด และ การกินคีโต ควรมีวินัย 

กินไขมันเป็นหลัก

กินไขมันที่เป็นเป็นแหล่งของกรดไขมันอิ่มตัวชนิด Monounsaturated fatty acid

  • น้ำมันมะกอก
  • น้ำมันคาโนลา
  • น้ำมันรำข้าว
  • อะโวคาโด
  • อัลมอลด์
  • แมคคาเดเมีย
  • เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 
  • ฮาเซลนัท
  • วอลนัท

กินไขมันที่เป็นแปล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated fatty acid

  • น้ำมันข้าวโพด 
  • น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย
  • น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน
  • น้ำมันถั่วเหลือง
  • น้ำมันงา
  • ปลาทะเลที่อุดไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว

กินไขมันอิ่มตัวบางชนิด

การกินไขมันอิ่มตัวบางอย่าง ตัวอย่างเช่น น้ำมันปาล์ม ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา ดังนั้นแล้วก็ไม่ควรกินในปริมาณที่มากจนเกินไป ควรทานแต่พอดี 

การกินคีโต ควรมีวินัย

หัวใจที่จะทำให้ความถูกต้อง สำเร็จ นั่นก็คือ ผู้ที่หันมาทานคีโต ถ้าอยากได้ผลจะต้องมีวินัย เพราะการลดน้ำหนักนั้น เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความอดทน วินัย จิตใจที่มุ่งมั่นอยากสุขภาพดีนั่นเอง 


ใคร ? ที่เหมาะกับการกิน “คีโต” 

เป็นคำถามที่ทุกคนอยากได้คำตอบว่าการกิน “คีโต” นั้นเหมาะกับใครบ้าง แน่นอนเลยว่าส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ในแบบฉบับที่จริงจัง ไม่จำเป็นต้องงดอาหารมื้อใด แค่จัดปริมาณ รวมทั้งสารอาหารให้ครบถ้วนก็พอ แต่จะต้องมีการเน้นออกกำลังกายไปด้วย สุขภาพจะได้แข็งแรง หรือ จะเป็นคนอ้วนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ ผู้ป่วยโรคอ้วน ที่มีภาวะที่อันตรายต่อชีวิตอย่าง อาการหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากนั้นก็จะเป็นผู้ป่วยอีกมากมายหลายโรคดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ 
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือ ผู้ป่วยมะเร็ง 
  • ผู้ป่วยอัลไซเมอร์
  • ผู้ป่วยโรคลมชัก
  • ผู้ป่วยภาวะถุงน้ำในรังไข่ 

กิน “คีโต” ดีอย่างไร ?

การกิน “คีโต” นั้น จะช่วยเรื่องสำคัญอย่างการควบคุมน้ำหนัก หรือ ผู้ที่ต้องการจะลดน้ำหนักได้อย่างจริงจัง โดยสารคีโตนในกระแสเลือด จะทำให้รู้สึกหิวน้อยลง จึงทานน้อยลง เพิ่มการสลายไขมัน พร้อมทั้งดึงไขมันสะสมมาใช้เป็นหลังงานแทนน้ำตาล อีกทั้งยังมีประโยชน์ในด้านสุขภาพต่อผู้ป่วยบางกลุ่ม ตัวอย่างเช่น ลดอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก ช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่สำคัญช่วยเรื่องระดับอินซูลิน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน 

กิน “คีโต” ก็มีข้อเสียนะ 

การกิน “คีโต” นั้น ก็จะมีข้อเสีย เรื่องเกี่ยวกับการขาดสารอาหาร หรือ เกิดท้องผูกได้ อีกทั้งยังส่งผลให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น อาจจะทำให้รู้สึกเหนื่อย ปวดศีรษะ ภาวะสมองล้า ท้องไส้ปั่นป่วน จะเรียกอาการนี้ว่า Keto flu แต่สำหรับในระยะยาวก็อาจจะทำให้เกิด นิ่วในไจ กับ ภาวะตับผิดปกติ ไขมันพอกตับ รวมทั้งเกิดโรคกระดูกพรุนด้วย การกินอาหารคีโต อาจจะนำไปสู่พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติได้ มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว ที่แรงขึ้น น้ำหนักอาจจะกลับขึ้นมาเร็ว


คีโตกินอะไรได้บ้าง 

เมนูอาหารคีโต 7 วัน

คนที่กิน “คีโต” นั้น จะสามารถทานอะไรได้บ้าง รวมไปถึง กินอะไรไม่ได้บ้าง เรื่องนี้อาจจะเป็นข้อถกเถียงใหญ่ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นดูแลสุขภาพ การลดน้ำหนัก พร้อมเข้าสู่วงการการกินอาหารประเภทนี้ ซึ่งอาหาร หรือ วัตถุดิบที่กินได้ จะมีดังต่อไปนี้ 

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และ เบคอน
  • ไขมันจากเนื้อปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาดุก ปลาทูน่า ปลาจาระเม็ดขาว
  • ไข่ เช่น ไข่เป็ด หรือ เมนูจากไข่ทุกเมนู
  • ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาก นม เช่น ครีมชีส วิปครีม เนยแท้ บลูชีส มอซซาเรลล่าชีส 
  • น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันอะโวคาโด
  • ถั่ว และ เมล็ดพืช เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ ถั่ววอลนัต เมล็ดฟักทอง เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย หรือ เมล็ดเซีย 
  • ผัก ที่มีคาร์บ น้อย โดย คาร์บ หรือชื่อเต็มว่า คาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะได้แก่ ผักใบเขียว ผักสลัด เห็ด มะเขือเทศ มะเขือม่วง หอมใหญ่ พริกหวาน ดอกกะหล่ำ บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง แตกกวาญี่ปุ่น กระเทียม 
  • ผลไม้ที่มี คาร์บ กับ น้ำตาลน้อย ตัวอย่างเช่น อะโวคาโด ผลไม้ตระกูลเบอรรี่ มะพร้าว มะนาว มะกอก เลมอน 
  • เครื่องปรุงรส ที่ทานได้เช่น เกลือ พริกไทย สมุนไพร 

คนที่กิน “คีโต” ไม่ควรจะกิน

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่คนกิน “คีโต” สามารถทานได้นั้นมีหลากหลายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น เนื้อสัตว์ ไข่ หรือ ผัก ผลไม้  แต่อย่างที่บอกว่าจะต้องควบคุม “คาร์บ” หรือ คาร์โบไฮเดรตให้ดี ไม่ให้เกินการควบคุม ดังนั้นสิ่งที่คนกินอาหารประเภทนี้อยู่ไม่ควรจะกินนั่นก็คือ 

  • อาหารจำพวกแป้ง , ธัญพืช ได้แก่ เส้นพาสต้า เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ซีเรียล
  • อาหารที่มีน้ำตาล เช่น เบียร์ทุกชนิด ไวน์ น้ำหวาน น้ำผลไม้ปั่น เค้ก ไอศกรีม ลูกอม ทุกยอ่างที่มีน้ำตาล
  • ผลไม้ทุกชนิด แต่จะยกเว้นตระกูลเบอรี่ แต่ต้องจำกัดปริมาณด้วย 
  • อาหารประเภท ถั่ว ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วชิกพี  
  • ซอสต่าง ๆ เช่น ซอสมะเขือเทศ มายองเนส ซอสบาร์บีคิว ซอสพริก น้ำจิ้มที่มีน้ำตาล
  • ไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น เนยเทียม เนยขาว และ น้ำมันพืช
  • ผิกที่กินส่วนหัว หรือ ส่วนราก เช่น มันฝรั่ง มันสำปะหลัง มันม่วง มันหวาน เผือก แครอด ข้าวโพด ฟักทอง
  • อาหารสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น แหนม โบโลน่า แฮม

ก่อนกิน “คีโต” ใครบ้างที่ต้องปรึกษาแพทย์ 

การเริ่มกินอาหาร “คีโต” ไม่ใช่ว่าจะทานได้ทุกคน แต่จะมีคนบางกลุ่มที่ต้อง ปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะทานคีโต เพราะอาหารคีโต จะทำให้ไปลดระดับน้ำตาล ไขมัน ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายนั้นรู้สึกไม่เหมือนเดิมได้ ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยที่เกี่ยวของกับโรคเบาหวาน ความดัน หรือ ตับผิดปกติ จะส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุลอย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งผู้ที่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนกิน “คีโต” จะมีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่ไต ทำงานผิดปกติ  สำหรับคนกลุ่มนี้ จำเป็นต้องจำกัดในการทานโปรตีน แต่ทว่าการกิน “คีโต” จะต้องกินโปรตีนมากถึง 20-35% อาจจะทำให้ ไต ทำงานผิดปกติได้ 
  • ผู้ป่วยตับผิดปกติ สำหรับกลุ่มนี้ก็คล้ายกับ ผู้ป่วยโรคไต เพราะตับคืออวัยวะหลักในการนำไขมันมาเป็นพลังงาน ถ้าหากว่าตับทำงานได้ไม่ดี การกินคีโต ก็จะยิ่งเร่งให้ตับ ทำงานหนักขึ้นอีกด้วย 
  • ผู้ป่วยโรค ลำไส้แปรปรวน สำหรับอาการป่วยนี้ จะมีการบีบตัวของลำไส้ที่ผิดปกติ การกินอาหารไขมันสูงนั้น จะยิ่งกระตุ้นให้ท้องอืดง่ายขึ้นด้วย 
  • ผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ป่วยประเภทนี้สำคัญมาก เพราะจะต้องกินยา หรือ ฉีดยาลดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ดังนั้น การกิน “คีโต” อาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดนั้น ต่ำลงได้ง่ายขึ้น
  • ผู้ป่วยโรค ตับอ่อนอักเสบ สำหรับบุคคลประเภทนี้ จะมีปัญหาเรื่องการผลิตน้ำย่อยอาหารจำพวกไขมัน ดังนั้น ตับอ่อนที่ผิดปกติ จึงผลิตน้ำย่อยไขมันได้น้อยกว่าปกติ 

จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทานอาหาร คีโต ได้อย่างมั่นใจ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีระบบอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร หรือ ดึงพลังงานไปใช้ ก็จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะทำให้ร่างกายนั้นแย่ลงไปกว่าเดิม โดยการกินคีโต เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หรือ ความอ้วนก็จริง แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานแล้ว ไม่แนะนำเลยที่จะเริ่มกินแล้วไม่ปรึกษาแพทย์ 


เมนูอาหารคีโต 7 วัน แนะนำเมนูสุดฮิต

เมนูอาหารคีโต 7 วัน

การกินคีโต ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องยากอะไรมาก เพราะว่าอาหารส่วนใหญ่ ก็เป็นเมนูแบบง่าย ๆ ที่คุณทานได้ทุกคน การลดแป้ง น้ำตาล หลีกเลี่ยงอาหารที่มีอาหารแคลอรี่สูง จะช่วยให้ร่างกายนั้นหิวยาก กับการปรับตัวลดน้ำหนักที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะในปัจจุบันส่วนใหญ่จะอ้วน หรือ มีน้ำหนักที่มากขึ้นเพราะ คาร์บ หรือ คาร์โบไฮเดรตนั่นเอง ดังนั้นแล้วใครที่กำลังเริ่ม ลองศึกษาเมนู 7 วัน ของอาหารคีโต ในวันนี้ดูแล้วคุณจะรู้ว่าการทานคีโตไม่ได้ยากอะไร 

เมนูอาหารคีโต สำหรับ วันที่ 1 

  • มื้อเช้า ให้ทาน หมูย่างติดมัน นมอัลมอนด์ 
  • มื้อกลางวัน ให้ทาน กระเพราตับไข่ดาว 
  • มื้อเย็น เป็น สลัดอะโวคาโด

เมนูอาหารคีโต สำหรับ วันที่ 2

  • มื้อเช้า ไข่กระทะ, นมอัลมอนด์
  • มื้อกลางวัน ข้าวพะแนงหมู
  • มื้อเย็น  น้ำพริก ปลาทูทอด

เมนูอาหารคีโต สำหรับ วันที่ 3

  • มื้อเช้า เป็น สลัดผักน้ำสลัดงา, โยเกิร์ตรสธรรมชาติ
  • มื้อกลางวัน เป็น ไข่ต้ม, ข้าวขาหมูคากิ
  • มื้อเย็น เป็น น้ำตกหมูย่าง

เมนูอาหารคีโต สำหรับ วันที่ 4

  • มื้อเช้า เป็น กาแฟดำ ผัดกะหล่ำปลีไข่ข้นใส่แฮม
  • มื้อกลางวัน เป็น ต้มข่าไก่, ไข่เจียว
  • มื้อเย็น เป็น สปาเกตตีคาโบนาร่าเส้นบุก

เมนูอาหารคีโต สำหรับ วันที่ 5

  • มื้อเช้า เป็น ไก่สะเต๊ะ
  • มื้อกลางวัน เป็น หมูสามชั้นคั่วพริกเกลือ, ไข่เจียว
  • มื้อเย็น  เป็น ผัดคะน้าหมูสามชั้นทอดกรอบ, หน่อไม้ฝรั่งย่าง

เมนูอาหารคีโต สำหรับ วันที่ 6

  • มื้อเช้า เป็น ผักโขมอบชีส
  • มื้อกลางวัน เป็น แก้งส้มกุ้งผักรวม
  • มื้อเย็น เป็น แซลมอนย่างเกลือ + มะเขือเทศ

เมนูอาหารคีโต สำหรับ วันที่ 7

  • มื้อเช้า เป็น สลัดไก่, ไข่ต้ม, แอปเปิ้ลสีเขียว
  • มื้อกลางวัน เป็น ไข่พะโล้หมูสามชั้น
  • มื้อเย็น เป็น หน่อไม้ฝรั่งย่าง

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นหันมาทานอาหาร “คีโต” ถ้าหากว่าคุณเองเป็นคนที่จะหันมาลดน้ำหนัก หรือ รักษาสุขภาพ รักษาหุ่น ขอให้ร่างกายแข็งแรงเป็นปกติก็สามารถเริ่มทานได้ด้วยตัวเอง แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับอวัยวะที่ใช้ในการย่อยอาหาร เช่น โรคตับ โรคไต รวมทั้งภาวะต่าง ๆ ที่ไม่ปกติ ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน อย่างที่ได้เห็นว่าการกินอาหารประเภทนี้ ก็จะมีทั้งข้อดี ข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่อง “การกินอาหารคีโต” ในวันนี้ พวกเราหวังว่าจะเป็นข้อมูลที่ครบถ้วน ให้ท่านผู้อ่านที่กำลังมองหาข้อมูลดี เข้าใจง่ายแบบนี้ ตัดสินใจได้ว่าจะเลือกทานหรือไม่ สำหรับวันนี้ใครที่จะเริ่มทานก็ขอเป็นกำลังใจให้ แต่ต้องอย่าลืมรักษาสุขภาพด้วยวิธีอื่นด้วย เพราะกินอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้สุขภาพดีได้ แต่จะต้องออกกำลังกาย ลดความเครียด ชีวิตจะมีความสุขตลอดไป 


อ้างอิงจาก :

อาหารคีโต (Ketogenic Diet) ทางเลือกสุขภาพ ลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย (doctorraksa.com)

Looknat Theerawongkit
Looknat Theerawongkit
จบจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็น เทรนเนอร์ส่วนตัว สอนและให้คำปรึกษาด้านการออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน รวมไปถึงเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ โดยมีประสบการณ์ในวงการมามากกว่า 6 - 7 ปี